หน้าหลัก > ศาลา มีสาระ > การเตรียมตัวก่อนมีน้อง
การเตรียมตัวก่อนมีน้อง
การเตรียมตัวก่อนมีน้อง
20 Dec, 2022 / By salacrm01
Images/Blog/pqh6TuXE-ท้อง.jpg

การเตรียมตัวก่อนมีน้อง

       การเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์ เป็นสิ่งที่คนภายในครอบครัวต้องช่วยกัน ไม่ว่าจะเรื่องการจัดการเรื่องการเงิน สิ่งแวดล้อมภายในบ้านและที่สำคัญอย่างยิ่งคุณแม่ต้องรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อให้ทารกในครรภ์แข็งแรง โดยมีสิ่งที่ต้องเตรียมตัวและปรึกษาแพทย์สำหรับการวางแผนตั้งครรภ์ ดังนี้

1. เช็คเกี่ยวกับโรคประจำตัวที่มีและยาที่กำลังรับประทานทาน จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนยาหรือไม่ หรือต้องหยุดก่อนตั้งครรภ์กี่เดือน เนื่องจากยาหรือโรคบางอย่างส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของทารกหรือทำให้ทารกพิการได้ เช่น

- ผู้ติดเชื้อ Human Immunodeficiency Virus (HIV) หากต้องการที่จะมีบุตรควรมี จำนวนเชื้อไวรัสหรือ Viral load (VL) ≤50 copies/mL และกินยาต้านเอชไอวีสม่ำเสมอต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน

- ผู้ป่วยที่วางแผนมีบุตรที่รับประทาน ยาไทรอยด์ (Methimazole), ยาลดระดับไขมันในเลือด ควรปรึกษาแพทย์เพื่อปรับเปลี่ยนขนาดยา หรือเปลี่ยนยา เพื่อให้สามารถควบคุมโรคและปลอดภัยกับทารกในครรภ์

- ผู้ที่รับประทานยารักษาสิว Isotretinoin ควรหยุดยาอย่างน้อย 1 เดือนก่อนวางแผนตั้งครรภ์ เนื่องจากยาส่งผลให้ให้ทารกพิการได้

2. เช็คว่าได้รับวัคซีนครบแล้วหรือไม่ เช่น วัคซีนหัด, คางทูม, หัดเยอรมัน, บาดทะยัก, คอตีบ, โปลิโอ, อีสุกอีใส, ตับอักอักเสบ และ วัคซีนโควิด-19 เป็นต้น

3. เริ่มรับประทานกรดโฟลิก (Folic acid) รับประทานกรดโฟลิกอย่างน้อย 4 มิลลิกรัมต่อวัน ติดต่อกันก่อนตั้งครรภ์ 3 เดือนจนถึงอายุครรภ์ 3 เดือน เพื่อลดผลกระทบต่อทารก หากทารกขาดกรดโฟลิกอาจทำให้มีความเสี่ยงต่อการพิการทางด้านสมอง เช่น โรคหลอดประสาทไม่ติด เป็นต้น

4. ประเมินสภาวะการติดแอลกอฮอล์หรือบุหรี่ เนื่องจากต้องหยุดการดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่ระหว่างตั้งครรภ์

5. พบแพทย์เพื่อปรึกษาความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ ในแม่และทารกในครรภ์

6. ค้นหาสารเคมีที่คุณแม่อาจเจอในชีวิตประจำวันซึ่งอาจอันตรายต่อทารก เช่น ในสถานที่ทำงานภายในที่อยู่อาศัย 

7. รับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร  

- เลี่ยงการรับประทานเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน

- ควรล้างหรือปอกเปลือกผักและผลไม้ก่อนรับประทาน สตรีมีครรภ์ควรหลีกเลี่ยงอาหารบางชนิดที่นำเชื้อโรคได้ ซึ่งรวมถึงอาหารจำพวกเนื้อบดอบ แฮม ไส้กรอก หรือเนื้ออื่น ๆ ที่ถูกทำให้สุกพร้อมกิน และ ชีส หรือน้ำผลไม้ที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรส์

- หลีกเลี่ยงหรือจำกัดเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง

- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเป็นกรดไหลย้อน เช่น เข้านอนทันทีหลังรับประทานอาหาร, ใส่เสื้อผ้าที่แน่น, การรับประทาน อาหารที่มีไขมันสูง หรือเครื่องดื่มชา กาแฟ  เป็นต้น เนื่องจากสตรีมีครรภ์มีความเสี่ยงเป็นกรดไหลย้อนมากขึ้นจากสรีระที่เปลี่ยนไป

8. การควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ เนื่องจากหาก ดัชนีมวลกาย: Body Mass Index (BMI) เกิน 30 Kg/m2 มีความเสี่ยงเป็นความดันโลหิตสูง (Hypertension), ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ (Deep vein thrombosis), การแท้งบุตร (Miscarriage) โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational diabetes)

 

เรียบเรียงโดย

ภก.ภิเษก  ระดี

อ้างอิง

1.Mother to Baby. Isotretinoin (Accutane®)[Internet]. 2021 [cited 2022 Nov 06]. Available from: https://mothertobaby.org/fact-sheets/isotretinoin-accutane-pregnancy/pdf/

2.NHS. Planning your pregnancy [Internet]. 2020 [cited 2022 Nov 06]. Available from: https://www.nhs.uk/pregnancy/trying-for-a-baby/planning-your-pregnancy/

3.Patient education: How to plan and prepare for a healthy pregnancy, Uptodate. [Internet]. [cited 2022 Nov 06]. Available from: https://www.uptodate.com/contents/how-to-plan-and-prepare-for-a-healthy-pregnancy-the-basics?search=before%20pregnancy&source=search_result&selectedTitle=1~150&usage_type=default&display_rank=1

4.Patient education: Acid reflux (gastroesophageal reflux disease) during pregnancy (The Basics), Uptodate. [Internet]. [cited 2022 Nov 06]. Available from: https://www.uptodate.com/contents/acid-reflux-gastroesophageal-reflux-disease-during-pregnancy-the-basics?search=before%20pregnancy&topicRef=16247&source=see_link

5.กรมควบคุมโรค. แนวทางการตรวจวินิจฉัย รักษา และป้องกัน การติดเชื้อเอชไอวี ประเทศไทย ปี2564/2565 [Internet]. 2022 [cited 2022 Nov 06]. Available from: https://www.thaiaidssociety.org/wp-content/uploads/2022/10/HIV-AIDS-Guideline-2564_2565.pdf

6.พญาไทย. “กรดโฟลิก” สิ่งจำเป็นสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคน![Internet]. 202 [cited 2022 Nov 06]. Available from: https://www.phyathai.com/article_detail/2612/th “กรดโฟลิก”_สิ่งจำเป็นสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคน!

Like
ความคิดเห็น (0)
ก่อนหน้า 1 ถัดไป
ร้านค้าออนไลน์
© 2006-2024
Vevo Systems Co., Ltd.