หน้าหลัก > ศาลา มีสาระ > ดูแลตัวเองได้ง่ายๆ...สไตล์คนเป็นกรดไหลย้อน
ดูแลตัวเองได้ง่ายๆ...สไตล์คนเป็นกรดไหลย้อน
ดูแลตัวเองได้ง่ายๆ...สไตล์คนเป็นกรดไหลย้อน
21 Sep, 2021 / By salacrm01
Images/Blog/1Qigxb24-ดูแลตัวเอง.jpg

ดูแลตัวเองได้ง่ายๆ...สไตล์คนเป็นกรดไหลย้อน

 

สาเหตุของการเกิดกรดไหลย้อน

     สาเหตุหลักเกิดจากหูรูดของหลอดอาหารส่วนล่างทำงานผิดปกติ เช่น มีการคลายตัวของหูรูดหลอดอาหารส่วนล่างโดยที่ไม่มีการกลืน หรือความดันของหูรูดของหลอดอาหารส่วนล่างลดลง ไม่สามารถต้านแรงดันในช่องท้องและการบีบตัวของกระเพาะอาหารได้ ทำให้กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาบริเวณหลอดอาหาร

อาการของผู้ที่เป็นกรดไหลย้อน

  • แสบร้อนบริเวณกลางหน้าอก
  • บางรายอาจมีอาการเรอเปรี้ยว หรืออาจอาจได้รับรสขมในลำคอ
  • ทานอาหารแล้วอิ่มเร็ว มีอาการจุกแน่น เหมือนมีอะไรติดบริเวณลำคอ
  • หายใจไม่ออกเวลานอน กลืนลำบาก
  • บางรายหากเป็นเรื้อรังนานๆอาจส่งผลให้มีอาการเสียงแหบหรือไอแห้งได้

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการรักษาในผู้ที่เป็นกรดไหลย้อน

  • การรับประทานยา เช่น ยาลดการสร้างกรดในกระเพาะอาหาร เช่น ยา Omeprazole ขนาด 20 mg ทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1-2 ครั้ง ก่อนรับประทานอาหาร การรับประทานวันละ 1 หรือ 2 ครั้ง จะขึ้นอยู่กับความรุนแรง โดยรับประทานต่อเนื่องประมาณ 4-8 สัปดาห์  และยาปรับการเคลื่อนไหวทางเดินอาหาร เช่น ตัวยา Domperidone ขนาด 10 mg รับประทานวันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร เช้า-เที่ยง-เย็น
  • การผ่าตัด ในผู้ป่วยที่รักษาด้วยยาเป็นเวลานานแล้วไม่สามารถคุมอาการหรือหยุดยาได้
  • หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง เนื่องจากอาหารทอดหรืออาหารมันจะอยู่ในทางเดินอาหารค่อนข้างนาน ส่งผลให้กระเพาะอาหารมีการสร้างน้ำย่อยออกมาเยอะขึ้น ส่งผลให้กระตุ้นอาการกรดไหลย้อน
  • เลี่ยงชา กาแฟ น้ำอัดลม น้ำผลไม้หรืออาหารที่มีรสเปรี้ยวจัด อาหารรสจัด เพราะอาหารและเครื่องดื่มดังกล่าว กระตุ้นการสร้างกรดในกระเพาะอาหาร ส่งผลให้กระตุ้นอาการของกรดไหลย้อน

รับประทานอาหารให้เป็นเวลา  และเลี่ยงการรับประทานอาหารก่อนช่วงที่จะนอนประมาณ 3 - 4  ชั่วโมง ควรรับประทานอาหารปริมาณน้อยแต่บ่อยครั้ง

  • หากผู้ที่เป็นกรดไหลย้อนมีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน ควรลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • หากในช่วงนอนมีอาการแสบคอ หรือแสบร้อนบริเวณกลางหน้าอก แนะนำให้ผู้ที่มีอาการนอนหมอนสูงหรือหนุนหัวให้สูงอย่างน้อย 6 นิ้ว เพื่อป้องกันไม่ให้กรดไหลย้อนขึ้นมาบริเวณกลางหน้าอก
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • หลีกเลี่ยงความเครียด
  • สวมใส่เสื้อผ้าที่สบาย ไม่ใส่เสื้อผ้ารัดรูปหรือรัดเข็มขัดแน่นจนเกินไป

เรียบเรียงโดย

ภญ.ศิริกาญจน์ สระแก้ว

เอกสารอ้างอิง

-รองศาสตราจารย์ ดร. สุจิตรา ทองประดิษฐ์โชติ.เกิร์ด-GERD-โรคกรดไหลย้อน.เข้าถึง.เข้าถึงเมื่อ 13 กรกฎาคม 2564.เข้าถึงได้จาก https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/

-สมาคมเคลื่อนไหวทางเดินอาหารไทย.Thailand Gerd Guideline 2020.พิมพ์ครั้งที่ 1 ก.ค. 2563. 96 หน้า. ISBN 978-616-93588-0-0

-ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา  สยามบรมราชกุมารี. โรคกรดไหลย้อน. เข้าถึงเมื่อ 13 กรกฏาคม 2564.เข้าถึงได้จาก http://med.swu.ac.th/msmc/opd_ent/index.php/news-menu/216-2018-01-16-07-16-39

-รศ.นพ. ปารยะ อาศนะเสน. กรดไหลย้อน…..ปัญหาร้อนอกของคนวัยทำงาน. เข้าถึงเมื่อ 13 กรกฎาคม 2564. เข้าถึงได้จาก https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1225

 

เพิ่มเพื่อน

Like
ร้านค้าออนไลน์
© 2006-2024
Vevo Systems Co., Ltd.