Fibromyalgia
Fibromyalgia
18 Feb, 2023 / By salacrm01
Images/Blog/DlxEiUn1-FI5.png

            Fibromyalgia

      Fibromyalgia (ไฟโบรมัยอัลเจีย) เป็นภาวะที่ระบบส่วนกลางมีความไวต่อตัวกระตุ้นโดยเฉพาะอาการปวดมากกว่าปกติ ส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บปวดเรื้อรังตามกล้ามเนื้อและเยื่อพังพืด ร่วมกับมีอาการอ่อนเพลีย และมีอาการด้านความจำและสมาธิ รวมทั้งอาจมีปัญหาด้านการนอนหลับ

อาการ

- ปวดตึงทั่วร่างกาย

- อ่อนเพลียและเมื่อยล้า

- อาการซึมเศร้าและวิตกกังวล

- มีปัญหาการนอนหลับ

- มีปัญหา เกี่ยวกับการคิด ความจำ และสมาธิ

- ปวดหัวรวมทั้งไมเกรน

ปัจจัยเสี่ยง

• อายุ: Fibromyalgia สามารถส่งผลกระทบต่อคนทุกวัยรวมทั้งเด็ก อย่างไรก็ตาม คนส่วนใหญ่ได้รับการวินิจฉัยในวัยกลางคน และมีแนวโน้มที่จะมี fibromyalgia เมื่ออายุมากขึ้น

• ผู้ป่วยโรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) หรือ โรคข้อรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis) มีแนวโน้มที่จะพัฒนา fibromyalgia มากขึ้น

ปัจจัยที่อาจจะมีความเกี่ยวข้อง

• ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะมี fibromyalgia เป็นสองเท่าของผู้ชาย

• เหตุการณ์ที่ตึงเครียดหรือกระทบกระเทือนจิตใจ เช่น อุบัติเหตุทางรถยนต์ โรคเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ (PTSD)

• การบาดเจ็บซ้ำๆ ที่ข้อต่อ เช่น การงอเข่าบ่อยครั้ง

• การเจ็บป่วย (เช่น การติดเชื้อไวรัส)

• ประวัติครอบครัว

• โรคอ้วน

การรักษาโดยไม่ใช้ยา

1.การบำบัดความคิดและพฤติกรรม (Cognitive behavioural therapy (CBT)) และการให้คำปรึกษา โดยผู้เชี่ยวชาญ

2.ปรับพฤติกรรมการนอน : ควรนอนในที่มืด เงียบ และเย็น การหลีกเลี่ยงสารกระตุ้นที่อาจส่งผลต่อการนอนหลับ (เช่น แสงสีฟ้าจากโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์มือถือ คาเฟอีน และแอลกอฮอล์) หลีกเลี่ยงหรือจัดการปัจจัยที่อาจส่งผลเสียต่อคุณภาพการนอนหลับ

3.การจัดการความเครียด เช่น การทำสมาธิ โยคะ และการนวด

4. การออกกำลังกาย

- การออกกำลังกายในสระน้ำโดยเฉพาะน้ำอุ่นช่วยลดปัญหา ปวดยอกกล้ามเนื้อจากการออกกำลังกายได้

- ออกกำลังแบบแอโรบิก ช่วยลดอาการอ่อนเพลีย ทำให้ปัญหาการนอนหลับ และสมรรถภาพร่างกายดีขึ้น เช่น การเดินเร็ว ปั่นจักรยาน เป็นต้น

การรักษาโดยใช้ยา

      ในการรักษาเบื้องต้น แนะนำให้ใช้ Amitriptyline 10-50 mg/day ในการรักษา หากไม่สามารถทนต่อยาหรือไม่ตอบสนองต่อยา แนะนำเปลี่ยนไปใช้ยาอื่น โดยพิจารณาอาการร่วมด้วย ดังนี้

1.ผู้ป่วยที่มีปัญหาการนอนหลับร่วมด้วยให้พิจารณายา ดังนี้

Pregabalin 75 mg 1 เม็ด วันละ 2 ครั้ง และปรับขนาดยาให้ได้ตามเป้าหมายการรักษา 150 mg  วันละ 2 ครั้ง

Gabapentin 300 mg  1 เม็ด ก่อนนอน ค่อยปรับขนาดยาให้ถึง 1200-2400 mg/day

2.ผู้ป่วยที่อ่อนเพลียหรือซึมเศร้าร่วมด้วยให้พิจารณายา ดังนี้

Venlafaxine 37.5-150 mg/day

Duloxetine 30 mg/day ปรับขนาดยาให้ได้ 60 mg/day

3.ยาอื่น ๆ ที่สามารถบรรเทาอาการปวดได้

Paracetamol 500 mg 1-2 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมง

NSAIDs เช่น Ibuprofen 400 mg 1-2 เม็ด วันละ 3 ครั้ง

Tramadol 50 mg 1 เม็ด ทุก 8 ชั่วโมง

ทั้งนี้ แนวทางการักษาและการใช้ยาควรอยู่ในการดูแลจากแพทย์

เรียบเรียงโดย

ภก.ภิเษก  ระดี

อ้างอิง

1.Centers for Disease Control and Prevention. Fibromyalgia [Internet]. 2020 [cited 2022 Sep 06]. Available from: https://www.cdc.gov/arthritis/basics/fibromyalgia.htm

2.NHS. Fibromyalgia [Internet]. 2019 [cited 2022 Sep 06]. Available from: https://www.nhs.uk/conditions/fibromyalgia/treatment/

3.Treatment of fibromyalgia in adults not responsive to initial therapies, Uptodate. [Internet]. [cited 2022 Sep 06]. Available from: https://www.uptodate.com/contents/initial-treatment-of-fibromyalgia-adults?search=Fibromyalgia&source=search_result&selectedTitle=3~150&usage_type=default&display_rank=3#H170844788

4.สมาคมการศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย และชมรมผู้สนใจปัญหาปวดกล้ามเนื้อแห่งประเทศไทย. Recommendations for the Treatment of Myofascial Pain Syndrome& Fibromyalgia.2563;01:24-33.

 
Like
ความคิดเห็น (0)
ก่อนหน้า 1 ถัดไป
ร้านค้าออนไลน์
© 2006-2024
Vevo Systems Co., Ltd.