หน้าหลัก > ศาลา มีสาระ > น้ำยาล้างแผล
น้ำยาล้างแผล
น้ำยาล้างแผล
10 Dec, 2022 / By salacrm01
Images/Blog/90uvzK9a-น้ำยา.jpg

น้ำยาล้างแผล

การหายของแผล

      ก่อนที่จะไปทำความรู้จักกับน้ำยาล้างแผล เราเคยรู้หรือไม่ เวลาเกิดแผล ไม่ว่าจะเกิดจากการได้รับจากอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด เช่น หกล้ม โดนของมีคม แผลถลอก จนมีเลือดออกได้ ร่างกายเรามีกระบวนการซ่อมแซมซ่อมแซมบาดแผลที่เกิดขึ้นเบื่องต้นการหายของแผลนั้นแบ่งเป็นระยะต่าง ๆ ได้ 4 ระยะดังนี้

  • ระยะที่ 1 Hemostasis Phase (ระยะหยุดเลือดออก) ระยะนี้เส้นเลือดจะทำการหดตัว เกิดการกระตุ้น การทำงานของเกล็ดเลือด และ สารช่วยการแข็งตัวของเลือด ทำให้เลือดหยุดไหล
  • ระยะที่ 2 Inflammatory Phase (ระยะการอักเสบ) ระยะนี้เป็นระยะที่ทำให้เกิดการอักเสบ โดยที่ร่างกายพยายามทำลายเชื้อโรคที่รุกล้ำเข้ามากับแผล  จึงทำให้เกิดการบวม แดง ร้อน เพราะเส้นเลือดจำเป็นต้องขยายตัว เพื่อส่งเม็ดเลือดขาวที่เปรียบเสมือนทหารของร่างกายเข้ามาจัดการกับสิ่งแปลกปลอม และเนื้อเยื่อที่ตายแล้ว
  • ระยะที่ 3 Proliferation Phase (ระยะสร้างเนื้อเยื่อ) ระยะนี้จะเกิดการสร้างเนื้อเยื่อทดแทนเนื้อเยื่อที่เสียไป เพื่อปิดแผลให้สนิท ซึ่งระยะนี้อาศัยความชุ่มชื้น และสารอาหารที่เพียงพอต่อการสร้างเนื้อเยื่อเพื่อให้แผลปิดได้เร็ว โดยการปิดของแผลนั้นจะเริ่มจากขอบแผลไปเรื่อย ๆ
  • ระยะที่ 4 Remodeling Phase (ระยะปรับโครงสร้าง) ระยะนี้เนื้อเยื่อที่สร้างขึ้นมาในระยะที่ 3 จะได้รับการปรับปรุงโครงสร้างให้เหมาะสม เช่น แผลเริ่มแห้ง รอยแผลเป็นนิ่มลง แบนราบ และสีจางลง ดังที่ควรจะเป็นซึ่งต้องใช้ เวลาค่อนข้างนาน และเป็นช่วงที่แผลเป็นนั้นลดความหนาตัวลงมา

         อย่างไรก็ตามกระบวนการซ่อมแซมแผลของร่างกาย อาจะมีปัจจัยที่รบกวนและเป็นอุปสรรคในการหายของแผล ดังนี้

สิ่งที่ขัดขวางการหายของแผล

  • ระยะหยุดเลือดออกมีปัญหา  คือ เลือดไม่แข็งตัว ทำให้เลือดไหลอยู่เรื่อย ๆ โดยพบได้ในผู้ที่รับประทานยา ต้านเกล็ดเลือด เกล็ดเลือดมีปัญหา ผู้ที่มีภาวะสร้างสารช่วยการแข็งตัวของเลือดไม่ได้ หรือผู้ที่มีเกล็ดเลือดต่ำ รวมไปถึงผู้ป่วยโรคฮีโมฟิลเลีย ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ขัดขวางของกระบวนการหายของแผลในระยะที่ 1
  • ระยะการอักเสบยาวนาน เนื่องจากไม่สามารถกำจัดเชื้อโรคเองได้หมด ทำให้ ปวด บวม แดง ร้อน มากขึ้นเรื่อย ๆ ระยะนี้ค่อนข้างพบบ่อยที่สุด
  • ระยะสร้างเนื้อเยื่อมีปัญหา  เนื่องจากปัจจัยในการสร้างเนื้อเยื่อนั้น ต้องอาศัยสารอาหารในการส้รางเนื้อเยื่อ ดังนั้นในผู้ป่วยที่เส้นเลือดมีปัญหา การขาดความชุ่มชื้นของแผล การมีเศษไม้ ก้อนหิน หรือแม้กระทั้งการมีเลือดคลั่งและหนอง ก็อาจรบกวนกระบวนการหายของแผลในระยะที่ 3 ได้
  • ระยะปรับปรุงโครงสร้างมีปัญหา ระยะนี้ส่วนใหญ่แผลมีการปิดเรียบร้อย แต่ความแข็งแรง และการทำหน้าที่ของบริเวณผิวหนังรอบแผลอาจจะมีปัญหาได้จากสารอาหารไม่เพียงพอ หรือการลำเลียงสารไปบริเวณแผลโดยเส้นเลือดไม่ปกติ อาจจะทำให้ผิวหนังที่เป็นแผลเสี่ยงต่อการเกิดแผลซ้ำได้

น้ำยาล้างแผลแต่ละชนิด 

       มาทำความรู้จักกับน้ำยาล้างแผลกัน เป้าหมายของการล้างแผล คือ การกำจัดเชื้อโรค และสร้างสภาวะให้เหมาะสมกับการสร้างเนื้อเยื่อเพื่อรักษาแผล

  • Alcohol (แอลกอฮอล์) ในรูปแบบ ความเข้มข้น 70% Ethyl Alcohol หรือ Isopropyl Alcohol สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ ไม่ควรนำไปล้างแผลสดโดยตรง เพราะมีฤทธิ์ทำลายเนื้อเยื่อระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อมาก ๆ จึงแนะนำให้ทาบริเวณรอบ ๆ แผลเท่านั้น
  • Hydrogen Peroxide (ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์) ในรูปแบบ ความเข้มข้น 3% Hydrogen Peroxide ฆ่าเชื้อโรคได้บางส่วน กัดกร่อนเนื้อเยื่อเป็นหลัก เทแล้วมีฟองฟู่ ใช้ในแผลเปื่อย มีเนื้อตาย ซึ่งมีความระคายเคืองต่อเนื้อเยื้อ รองลงมา
  • Povidone iodine (โพรวิโดนไอโอดีน) ในรูปแบบ ความเข้มข้น 10% Povidone iodine ฆ่าเชื้อโรคได้ ทำลายเนื้อเยื่อน้อยมาก จึงเหมาะสำหรับทาบริเวณเนื้อเยื่อแผลสดได้ ไม่ระคายเคืองมาก
  • Normal Saline (น้ำเกลือล้างแผล) ในรูปแบบ ความเข้มข้น 0.9% NaCl (Sodium chloride) ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค ไม่ทำลายเนื้อเยื่อ ไม่ระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อแผลสด เนื่องจากมีความสมดุลกับน้ำในเซลล์ร่างกายช่วยรักษาสภาพของเซลล์เนื้อเยื่อ และเซลล์เม็ดเลือด

การใช้น้ำยาล้างแผลให้เหมาะสม

       คนสมัยก่อนเชื่อว่า ถ้าใช้น้ำยางล้างแผลที่ยิ่งแสบ ๆ ยิ่งดี เป็นความเชื่อที่ผิด เพราะการใช้น้ำยาล้างแผลที่มีฤทธิ์ทำลายเนื้อเยื่อนั้น แม้จะสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ แต่ก็มีผลทำลายเนื้อเยื่อจึงทำให้แผลหายได้ช้า ดังนั้นเป้าหมายของการล้างแผลคือ ล้างสิ่งสกปรกออกไปให้ได้มากที่สุด ทำลายเชื้อโรค โดยไม่ทำลายเนื้อเยื่อ เป็นวิธีที่ถูกต้อง และทำให้แผลหายเร็วขึ้น

เรียบเรียงโดย 

ภก.สุรพล พนมร่วมมิตร

อ้างอิง

1.อัจฉริย สาโรวาท. WOUND HEALING AND WOUND CARE . [อินเทอร์เน็ต]. เข้าถึงได้จาก : https://med.mahidol.ac.th/surgery/sites/default/files/public/pdf/Wound%20%20Healing%20abd%20Wound%20Care.pdf.  [เข้าถึงเมื่อ 22 ก.ค. 2565]

2.ธีรวัฒน์ สุวรรณี. ล้างแผลไม่เจ็บและหายเร็ว [อินเทอร์เน็ต[S47] ]. เข้าถึงได้จาก :  http://www.idoctorhouse.com/firstaid/ล้างแผลไม่เจ็บและหายเร็ว/. [เข้าถึงเมื่อ 24 ก.ค. 2565]

Like
ความคิดเห็น (0)
ก่อนหน้า 1 ถัดไป
ร้านค้าออนไลน์
© 2006-2024
Vevo Systems Co., Ltd.